Anna - Disney's Frozen Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/07/blog-post_21.html#ixzz4OeJsZ5Nt
ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ค่ะ

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 รูปแบบของฐานข้อมูล
2.1 ศัพท์พื้นฐานของฐานข้อมูล
1. Regular Entity (หรือ strong entity) คือ  entity ที่มี attribute ของ entity นั้นเอง กำหนด  เป็น Key    (หรือ identiy ) ได้
 2.  Weak Entity  คือ entity ที่ ต้องใช้ attribute จาก Entity อื่น ร่วมด้วย เพื่อกำหนด เป็น key ให้กับ entity นี้ 
 3. Relationship คือความสัมพันธ์ ระหว่าง Entity set เขียนแทนด้วย รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (diamond) และมีเส้นเชื่อมโยงไปยัง Entity ที่มีความสัมพันธ์กัน ภายในรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ระบุชื่อของความสัมพันธ์ (คำนาม หรือ กริยา หรือ บุพบท)
4. Binary Relationship  คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 Entity
5. N-ary Relationship คือความสัมพันธ์ระหว่าง N Entity  ( N มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ) เช่น การฝากเงิน เข้าบัญชีธนาคาร มีความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ฝาก, เงิน และ บัญชีธนาคาร เป็นต้น
6. Recursive Relationship คือความสัมพันธ์ ใน Entity เดียวกัน  เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การเป็นเจ้านาย-ลูกน้อง ใน Entity พนักงาน  เป็นต้น  อาจมีการเขียนบทบาท (Role indicator) กำกับ ที่เส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์

1.2       ความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้
                               ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ มีดังนี้
- ความสัมพันธ์เอนทิตี้เดียว (Unary Relationships) หมายถึง เอนทิตี้หนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับตัวมันเอง
- ความสัมพันธ์สองเอนทิตี้ (Binary Relationships) หมายถึง เอนทิตี้สองเอนทิตี้จะมีความสัมพันธ์กัน
- ความสัมพันธ์สามเอนทิตี้(Ternary Relationships) หมายถึง เอนทิตี้สามเอนทิตี้มีความสัมพันธ์กัน
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ( One - to - One Relationship )


เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น เอนติตี้นักศึกษา กับเอนติตี้โครงงานวิจัยมีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นักศึกษาแต่ละคนทำโครงงานวิจัยได้ 1 โครงงานเท่านั้น และแต่ละโครงงานวิจัยมีนักศึกษารับผิดชอบได้ไม่เกิน 1 คน เป็นต้น


ภาพที่ 1.3 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง


ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ( One - to - Many Relationship )


เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าและคำสั่งซื้อเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม คือ ลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้หลายคำสั่งซื้อ แต่แต่ละคำสั่งซื้อมาจากลูกค้าเพียงคนเดียว เป็นต้น


ภาพที่ 1.4 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม




ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ( Many - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของสองเอนติตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งซื้อกับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือ แต่ละคำสั่งซื้ออาจสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด และในสินค้าแต่ละชนิดอาจปรากฏอยู่ในคำสั่งซื้อได้มากกว่า 1 คำสั่งซื้อ



ภาพที่1.5 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
2.3 ชนิดของฐานข้อมูล
ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บนั้นอาจจะมีรูปแบบ ได้แก่
1.             ข้อมูลแบบรูปแบบ (formatted data) เป็นข้อมูลที่รวมอักขระซึ่งอาจหมายถึงตัวอักษร ตัวเลข ซึ่งเป็นรูปแบบที่แน่นอน ในแต่ละระเบียน ทุกระเบียนที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลจะมีรูปแบบที่เหมือนกันหมด ข้อมูลที่เก็บนั้นอาจเก็บในรูปของรหัสโดยเมื่ออ่านข้อมูลออกมาอาจจะต้องนำรัหสนั้นมาตีความหมายอีกครั้ง เช่น แฟ้มข้อมูลประวัตินักศึกษา
2.              ข้อมูลแบบข้อความ (text)เป็นข้อมูลที่เป็นอักขระในแบบข้อความ ซึงอาจหมายถึงตัวอักษร ตัวเลข สมการฯ แต่ไม่รวมภาพต่าง ๆ นำมารวมกันโดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอนในแต่ละระเบียน เช่น ระบบการจัดเก็บข้อความต่าง ๆ ลักษณะการจัดเก็บแบบนี้จะไม่ต้องนำข้อมูลที่เก็บมาตีความหมายอีก ความหมายจะถูกกำหนดแล้วในข้อความ
3.              ข้อมูลแบบภาพลักษณ์ (images) เป็นข้อมูลที่เป็นภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟที่ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลแบบรูปแบบรูปภาพ หรือภาพวาด คอมพิวเตอร์สามารถเก็บภาพและจัดส่งภาพเหล่านี้ไปยังคอมพิวเตอร์อื่นได้ เหมือนกับการส่งข้อความ โดยคอมพิวเตอร์จะทำการแปลงภาพเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะปรับขยายภาพและเคลื่อนย้ายภาพเหล่านั้นได้เหมือนกับข้อมูลแบบข้อความ
4.              ข้อมูลแบบเสียง (audio) เป็นข้อมูลที่เป็นเสียง ลักษณะของการจัดเก็บก็จะเหมือนกับการจัดเก็บข้อมูลแบบภาพ คือ คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงเสียงเหล่านี้ให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บได้ ตัวอย่างได้แก่ การตรวจคลื่นหัวใจ จะเก็บเสียงเต้นของหัวใจ
5.             ข้อมูลแบบภาพและเสียง (video) เป็นข้อมูลที่เป็นเสียงและรูปภาพ ที่ถูกจัดเก็บไว้ด้วยกัน เป็นการผสมผสานรูปภาพและเสียงเข้าด้วยกัน ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงเสียงและรูปภาพนี้ เช่นเดียวกับข้อมูลแบบเสียงและข้อมูลแบบภาพลักษณะซึ่งจะนำมารวมเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน
2.4 รูปแบบของฐานข้อมูล
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database: RDBMS)
 เป็นรูปแบบที่นิยม เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตาราง 2 ตารางหรือมากกว่า จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) ที่มีอยู่ในตารางที่ต้องการเชื่อมโยงข้อมูลกัน โดยที่แอททริบิวต์ (attribute) จะแสดงคุณสมบัติรีเลชั่น (Relation) ต่างๆ ซึ่งรีเลชั่น (Relation) ต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นบรรทัดฐาน                    ( Normalized) ในระหว่างการออกแบบเพื่อลดความซ้ำซ้อน เพื่อให้การจัดการฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.                                       ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
 ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก(Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร
3.                                       ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database) 
โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะประกอบด้วยประเภทของเรคคอร์ด และกลุ่มของข้อมูลของเรคคอร์ดนั้น การจัดข้อมูลอยู่ในความสัมพันธ์แบบพาเรนต์ไซล์ แต่ละสมาชิกสามารถมีความสัมพันธ์กันได้มากกว่าหนึ่ง นั่นคือสามารถมีความสัมพันธ์ของข้อมูลในแบบ N:M ได้นั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น