Anna - Disney's Frozen Read more: http://nanfufu.blogspot.com/2012/07/blog-post_21.html#ixzz4OeJsZ5Nt
ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ค่ะ

หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 การออกแบบฐานข้อมูล
3.1 จุดประสงค์ของการออกแบบฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูลนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลเพื่อเก็บบันทึก
ข้อมูลเป็นส่วนกลาง โดยมีจุดประสงค์ในการออกแบบฐานข้อมูล ดังนี้
   1.1 เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่อยู่ในระบบงาน
   1.2 สามารถเรียกใช้โดยผู้ใช้หลายคน
   1.3 ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลอันเป็นผลเนื่องมาจากมีข้อมูลชุดเดียวกันอยู่หลาย
          ที่ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล
3.2 ขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล
ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลจะมีอยู่ด้วยกัน
4 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การศึกษาและการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
1) การศึกษา
ในขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลนั้นตอนแรกสุดที่ผู้ออกแบบระบบจะต้องทำคือการ
เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบงานเดิมก่อนที่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามา
ช่วยงาน ข้อมูลที่เก็บได้นี้อาจอยู่ในรูปแบบของเอกสารรายงานต่างๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างขององค์กร สายงานที่รับผิดชอบ ศึกษาถึงความต้องการข้อมูลและการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำได้โดยการสอบถามข้อมูลหรือการใช้แบบสอบถาม
2) การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
การวิเคราะห์ความต้องการเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเอกสารเพื่อให้
ทราบถึงความต้องการใช้งานข้อมูลจากฐานข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้วิเคราะห์ฐานข้อมูลจะทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลที่อยู่ในระบบ โดยทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ใช้ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามต่อไปนี้
1. ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. คุณสมบัติของข้อมูลที่ผู้ใช้แต่ละกลุ่มมองเห็น
3. คีย์หลักที่สามารถใช้เป็นตัวอ้างอิงถึงสมาชิกในข้อมูลแต่ละชุดที่ใช้ในหน่วยงาน
    ประกอบด้วยอะไรบ้าง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลแต่ละชุดเป็นอย่างไร
5. การปฏิบัติการที่จำเป็น เช่น เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ความคงสภาพของ
   ข้อมูลเป็นอย่างไร
2.2 การออกแบบฐานข้อมูลในระดับความคิด (Conceptual Database Design)
เป็นการนำเสนอฐานข้อมูลในลักษณะของแผนภาพโดยอาจใช้โมเดลแบบ E-R (EntityRelationship Model) ซึ่งจะมีการแสดงเอนทิตี้ทั้งหมดที่มี แอททริบิวต์ของแต่ละเอนทิตี้นั้น และความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ออกมาในรูปแบบของแผนภาพ E-R Diagram
2.3 การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ (Logical Database Design)
เป็นการนำผลจากการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิดมาทำการปรับเพื่อให้เหมาะสมกัรูปแบบฐานข้อมูลที่เลือกใช้  ผลที่ได้จะเป็นเค้าร่างของฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สามารถนำไปกำหนดภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (DDL) ในขั้นตอนการออกแบบในระดับกายภาพได้ ขั้นตอนนี้จึงเป็นการแปลงผลจากการออกแบบในระดับแนวคิด (Mapping) ให้อยู่ในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่เลือกใช้ เช่น รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ฃระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management Systems :RDBMS) ในขั้นตอนนี้เป็นการแปลงเค้าร่างในระดับแนวคิดให้เป็นรีเลชั่นที่ประกอบด้วย แอททริบิวต์รวมถึงการระบุข้อกำหนดต่างๆ ให้กับรีเลชั่น เช่น คีย์หลัก คีย์นอก โดเมนของแอททริบิวต์ และมีการช้แนวคิดเรื่องการจัดระบบข้อมูลในรูปแบบบรรทัดฐาน (Normalization) เข้ามาช่วยในการออกแบบเพื่อปรับการออกแบบฐานข้อมูลที่เหมาะสมปัจจัยที่ใช้ประกอบการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเทคนิค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นๆ ให้ความสำคัญของปัจจัยใดมากกว่ากัน


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น